Categories

2024 © SIS-ACADEMY.COM | BY PONGLADA NIYOMPONG

Edit Template

let’s connect

Edit Template

รีวิวหนัง Ender’s Game (2013): 10 ทักษะการเป็นผู้นำฉบับเอนเดอร์

#TheatreClub เรื่องที่ 32

หากคุณอยากจะเรียนรู้ทักษะการเป็นผู้นำ (leadership skills) ผ่านหนังสักเรื่องล่ะก็ ขอแนะนำ Ender’s Game (2013) สงครามพลิกจักรวาลเป็นอย่างยิ่งค่ะ ทั้งสนุกและให้บทเรียนวิถีผู้นำโดยสะท้อนผ่านตัวละครเอกอย่างเอนเดอร์ วิกกิ้น เด็กหนุ่มผู้เป็นความหวังของโลกในการนำทัพทำสงครามกับมนุษย์ต่างดาว

เรื่องย่อ Ender’s Game

Ender's Game (2013) - Ender Wiggin

มนุษยชาติกำลังจะสูญสิ้น เมื่อมนุษย์ต่างดาวยกทัพมาบุกโลกเพื่อแย่งชิงทรัพยากรและหวังจะตั้งรกราก แม้กองทหารจากนานาชาติจะร่วมใจกันขับไล่ผู้รุกรานไปได้ แต่พวกเขารู้ดีว่านี่เป็นเพียงชัยชนะชั่วคราว พวกเขาต้องตามหาผู้บัญชาการกองทัพที่เหมาะสมเพื่อจะจบสงครามครั้งนี้

เอนเดอร์ วิกกิ้น เด็กหนุ่มอัจฉริยะในด้านการวางกลยุทธ์ถูกวางตัวให้เป็นผู้นำ เขาถูกส่งไปฝึกฝนที่โรงเรียนสอนการต่อสู้ (Battle School) ในอวกาศเพื่อฝึกยุทธวิธีการรบและการเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพ เอนเดอร์ต้องเผชิญความท้าทายมากมายเพราะอายุและประสบการณ์ที่น้อยกว่าคนอื่นๆ จนมาถึงการทดสอบครั้งสุดท้าย หากเขาสอบผ่าน เขาจะกลายเป็นผู้บัญชาการกองทัพโลกของศึกชี้ชะตาอนาคตของมวลมนุษยชาติ

ในภาพยนตร์มีตัวละครที่เป็นผู้นำอยู่หลายคน เช่น ผู้พันกราฟฟ์ที่เป็นคนเห็นแววเอนเดอร์, ผู้บัญชาการเมเซอร์ แรคแฮม วีรบุรุษสงครามและครูฝึกของเอนเดอร์, บอนโซ หัวหน้าทีมรุ่นผู้โหดร้าย เป็นต้น ทุกคนล้วนเก่งกาจแต่มีวิถีผู้นำแตกต่างกันไป โดยทักษะที่ทำให้เอนเดอร์เป็นผู้นำที่โดดเด่นกว่าคนอื่นๆ และได้รับยอมรับจากสมาชิกทีมมีดังนี้



10 ทักษะความเป็นผู้นำ ฉบับเอนเดอร์ วิกกิ้น

1. การคิดเชิงกลยุทธ์ (strategic thinking): การวางกลยุทธ์เป็นความสามารถพิเศษของเอนเดอร์มาตั้งแต่เด็ก เขาสามารถเอาชนะทุกคนได้ในเกมกลยุทธ์โดยการทำความเข้าใจคู่แข่งจนรู้ว่าอีกฝ่ายคิดอะไรและควรจะเดินหมากอย่างไร

นอกจากวางกลยุทธ์ในเกมเก่งแล้ว เอนเดอร์ยังนำวิธีวางกลยุทธ์มาใช้ในชีวิตจริง ตอนที่เขากำลังจะถูกกลุ่มรุ่นพี่ทำร้ายร่างกายเพราะโกรธที่แพ้ในเกม เอนเดอร์ก็วางกลยุทธ์ว่าต้องใช้คำพูดอย่างไรและกระทำอย่างไรถึงจะชนะรุ่นพี่ได้ ไม่เพียงแค่เอาชนะตอนนั้น แต่ต้องทำให้กลุ่มรุ่นพี่ไม่มาหาเรื่องเขาอีกในอนาคตด้วย

ในฐานะผู้นำ การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นทักษะที่สำคัญในการวางแผนเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายและคิดครอบคลุมถึงผลลัพธ์ในอนาคตด้วย

2. การปรับตัว (adaptability): เอนเดอร์เผชิญกับสถานการณ์ท้าทายอยู่เสมอ ซึ่งเขาสามารถปรับตัวเข้ากับผู้คนและสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น ตอนที่เขาเพิ่งเข้าโรงเรียนฝึกการต่อสู้แล้วถูกเพื่อนร่วมรุ่นตีตัวออกห่างเพราะเขาฉลาดเกินไป, ตอนที่เขาถูกย้ายไปอยู่ทีมซาลาแมนเดอร์ของบอนโซ หัวหน้าทีมรุ่นพี่ที่กลั้นแกล้งเขา, ตอนที่เขาถูกย้ายมาเป็นหัวหน้าทีมดราก้อนที่ไม่เคยชนะการแข่งขันเลย เป็นต้น

‘การเปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่แน่นอน’ เอนเดอร์ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ดี ทำให้เขายอมรับเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่เคยโอดครวญต่อสถานการณ์ท้าท้าย แต่เลือกที่จะสนุกไปกับมันและพุ่งตรงไปยังเป้าหมาย

3. ความกล้าหาญและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (courage and empathy): ความฉลาดทำให้เอนเดอร์ถูกวางตัวเป็นผู้นำ แต่ความกล้าหาญและเห็นอกเห็นใจคือทักษะที่ทำให้สมาชิกทีมยอมรับว่าเขาเป็นผู้นำที่แท้จริง 

เอนเดอร์กล้าที่จะตั้งคำถามและถกเถียงอย่างใช้เหตุผลกับผู้บังคับบัญชาแม้รู้ว่าจะถูกลงโทษ นั่นเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เพื่อนร่วมรุ่นที่เคยตีตัวออกห่างหันมาเคารพเขา

นอกจากนี้เอนเดอร์ยังถ่อมตัว เขาแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนร่วมทีมแม้แต่กับคนที่ไม่ชอบเขา เขาใช้เวลาทำความเข้าใจมุมมองและแรงจูงใจของอีกฝ่าย ซึ่งช่วยให้เขาสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับคนอื่นได้ ในฐานะผู้นำ สิ่งสำคัญคือต้องสามารถเข้าใจและเห็นอกเห็นใจสมาชิกในทีมเพื่อสร้างความไว้วางใจและสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานในเชิงบวก

4. การบริหารสมาชิก (people management): เอนเดอร์รู้ถึงความสำคัญของทีมเวิร์คเป็นอย่างดี เขารู้ว่าเพื่อนร่วมทีมแต่ละคนเป็นอย่างไร ถนัดด้านไหน และมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อเป้าหมาย ซึ่งเอนเดอร์ช่วยทำให้ทุกคนแสดงศักยภาพออกมาได้เต็มประสิทธิภาพ ในฐานะผู้นำ เป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องรู้จักสมาชิกทีมอย่างดีเพื่อมอบหมายงานที่เหมาะสมให้กับแต่ละคน รวมถึงจูงใจให้พวกเขารู้สึกถึงคุณค่าของตัวเองต่อทีม

5. การสื่อสาร (communication): เอนเดอร์สามารถสื่อสารแผนการและสรุปสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว ทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายและรู้ว่าควรจะทำอะไรต่อไป เขารู้ว่าควรจะสื่อสารกับแต่ละคนแบบใดจึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น สื่อสารแบบเล่าให้ฟัง, ชวนให้คิด, ขอคำแนะนำ, ออกคำสั่ง, ลงมือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เป็นต้น

แตกต่างจากบอนโซ หัวหน้าทีมซาลาแมนเดอร์ที่สื่อสารแบบออกคำสั่งอย่างเดียว ห้ามลูกทีมโต้เถียง นั่นนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในเกมการแข่งขันเพราะเขาไม่รับฟังคำแนะนำกลยุทธ์ของเพื่อนร่วมทีมเลย แถมยังไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชาคนไหนที่เต็มใจทำตามเขา 

การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับทุกคน โดยเฉพาะหัวหน้าทีมที่ต้องคอยสื่อสารให้สมาชิกทีมเข้าใจตรงกัน เชื่อใจกันและทำงานไปสู่เป้าหมายเดียวกัน



6. การตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว (decisiveness): เอนเดอร์สามารถตัดสินใจเรื่องยากๆ ภายใต้สถานการณ์กดดันและมีข้อมูลจำกัดได้อย่างรวดเร็วและมั่นใจ การตัดสินใจเป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้นำ หากผู้นำยังลังเลหรือขาดความมั่นใจการตัดสินใจของตัวเอง สมาชิกทีมก็จะรู้สึกสงสัยในตัวหัวหน้าทีมเช่นกัน

7. การสะท้อนตัวตน (self-reflection): เอนเดอร์ไตร่ตรองการกระทำและการตัดสินใจของเขาอยู่เสมอ เขาไม่กลัวที่จะยอมรับเมื่อเขาทำผิดพลาด การสะท้อนตนเองทำให้เขาได้เรียนรู้จากประสบการณ์และกลายเป็นผู้นำที่ดีขึ้น ผู้นำที่ดีต้องสามารถสะท้อนการกระทำและการตัดสินใจของตัวเองเพื่อเรียนรู้จากสิ่งเหล่านั้นและตัดสินใจเลือกได้ดีขึ้นในอนาคต

8. ความรับผิดชอบ (accountability): เอนเดอร์รับผิดชอบต่อการกระทำและการตัดสินใจของเขา แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นก็ตาม เขาไม่ตำหนิผู้อื่นหรือหาข้อแก้ตัว แต่เลือกที่จะพยายามหาทางออกและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ในฐานะผู้นำ สิ่งสำคัญคือต้องรับผิดชอบต่อการกระทำและการตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ของการเลือกของคุณ 

9. ความยืดหยุ่น (resilience): เอนเดอร์เผชิญกับความพ่ายแพ้และความท้าทายครั้งสำคัญตลอดทั้งเรื่อง แต่เขาไม่เคยยอมแพ้ เขาสามารถฟื้นตัวจากความล้มเหลวและเดินหน้าต่อไปสู่เป้าหมายได้ ความยืดหยุ่นเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับผู้นำ เนื่องจากพวกเขาจะต้องเผชิญกับอุปสรรคและความพ่ายแพ้ในการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

10. การคิดอย่างมีวิสัยทัศน์ (visionary thinking): เอนเดอร์มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนสำหรับเส้นทางในอนาคตและสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมของเขาทำงานตามวิสัยทัศน์นั้นได้ เขาสามารถมองเห็นภาพรวมที่ใหญ่ขึ้นและเข้าใจว่าบทบาทของสมาชิกในทีมแต่ละคนเหมาะสมกับเป้าหมายที่ใหญ่กว่าอย่างไร ในฐานะผู้นำ การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างแรงจูงใจและสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมของคุณ

พื้นที่หวีดเอนเดอร์

⚠️ รีวิวต่อไปนี้มีเปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญในภาพยนตร์

Ender's Game (2013) - Ender Wiggin

ผู้พันกราฟฟ์: พวกเราชนะ! นั่นแหละที่สำคัญ
เอนเดอร์: ไม่ใช่ วิธีที่พวกเราชนะต่างหากที่สำคัญ

นี่เป็นหนึ่งในภาพยนตร์หักมุมที่สะเทือนใจที่สุดสำหรับซิส 🥺 ไม่คิดว่าหนังไซไฟอวกาศสนุกๆ ที่ดำเนินเรื่องด้วยเด็กจะดราม่าหักมุมได้ ตอนที่ชมภาพยนตร์ก็คิดอยู่ว่า ‘หนังจะจบอยู่แล้ว แต่เอนเดอร์ยังเรียนไม่จบซะที 😂 จะได้รบกันมั้ยเนี่ย! หรือมีต่อภาค 2?’ พอหนังเฉลยการทดสอบครั้งสุดท้ายเท่านั้นแหละ ปวดใจสุด เมื่อคิดถึงสิ่งที่เอนเดอร์ต้องแบกรับไปตลอดชีวิต ได้แต่คิดว่าถ้าเอนเดอร์รู้ความจริงก่อนการทดสอบ เขาจะตัดสินใจและใช้กลยุทธ์ยังไง

แต่การที่เอนเดอร์ถูกหลอกก็ทำให้ตัวละครนี้ดูมีมิติสมจริงมากขึ้น เพราะต่อให้เอนเดอร์จะเป็นอัจฉริยะ แต่เขาก็ยังเป็นเด็กที่ประสบการณ์ใช้ชีวิตน้อย โดยใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับครอบครัวและที่โรงเรียนเท่านั้น จึงไม่แปลกที่จะตกหลุมพรางการทดสอบครั้งสุดท้าย แต่ถึงอย่างไรก็โหดร้ายเหลือเกินที่ต้องให้เด็กคนหนึ่งมาแบกรับภาระอันหนักอึ้งโดยไม่ได้รู้เบื้องหลัง

ขอชื่นชมเอซา บัตเตอร์ฟิลด์ (Asa Butterfield) ผู้รับบทเอนเดอร์ ชอบน้องตั้งแต่แสดงเรื่อง Hugo (2011) แล้ว สำหรับเรื่องนี้น้องถ่ายทอดตัวตนของเอนเดอร์ที่มีบุคลิกซับซ้อนได้เก่งมาก แสดงความเป็นผู้นำอัจฉริยะที่กล้าหาญ ในขณะเดียวกันก็มีความถ่อมตัว ขี้อายและไร้เดียงสาในบางมุมเพราะประสบการณ์ที่ยังน้อย มันทำให้เราชื่นชมและยกย่องผู้นำแบบเอนเดอร์จริงๆ



Total
0
Shares

รีวิวหนัง Ender’s Game (2013): 10 ทักษะการเป็นผู้นำฉบับเอนเดอร์

♡ save for later

#TheatreClub เรื่องที่ 32

หากคุณอยากจะเรียนรู้ทักษะการเป็นผู้นำ (leadership skills) ผ่านหนังสักเรื่องล่ะก็ ขอแนะนำ Ender’s Game (2013) สงครามพลิกจักรวาลเป็นอย่างยิ่งค่ะ ทั้งสนุกและให้บทเรียนวิถีผู้นำโดยสะท้อนผ่านตัวละครเอกอย่างเอนเดอร์ วิกกิ้น เด็กหนุ่มผู้เป็นความหวังของโลกในการนำทัพทำสงครามกับมนุษย์ต่างดาว

เรื่องย่อ Ender’s Game

Ender's Game (2013) - Ender Wiggin

มนุษยชาติกำลังจะสูญสิ้น เมื่อมนุษย์ต่างดาวยกทัพมาบุกโลกเพื่อแย่งชิงทรัพยากรและหวังจะตั้งรกราก แม้กองทหารจากนานาชาติจะร่วมใจกันขับไล่ผู้รุกรานไปได้ แต่พวกเขารู้ดีว่านี่เป็นเพียงชัยชนะชั่วคราว พวกเขาต้องตามหาผู้บัญชาการกองทัพที่เหมาะสมเพื่อจะจบสงครามครั้งนี้

เอนเดอร์ วิกกิ้น เด็กหนุ่มอัจฉริยะในด้านการวางกลยุทธ์ถูกวางตัวให้เป็นผู้นำ เขาถูกส่งไปฝึกฝนที่โรงเรียนสอนการต่อสู้ (Battle School) ในอวกาศเพื่อฝึกยุทธวิธีการรบและการเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพ เอนเดอร์ต้องเผชิญความท้าทายมากมายเพราะอายุและประสบการณ์ที่น้อยกว่าคนอื่นๆ จนมาถึงการทดสอบครั้งสุดท้าย หากเขาสอบผ่าน เขาจะกลายเป็นผู้บัญชาการกองทัพโลกของศึกชี้ชะตาอนาคตของมวลมนุษยชาติ

ในภาพยนตร์มีตัวละครที่เป็นผู้นำอยู่หลายคน เช่น ผู้พันกราฟฟ์ที่เป็นคนเห็นแววเอนเดอร์, ผู้บัญชาการเมเซอร์ แรคแฮม วีรบุรุษสงครามและครูฝึกของเอนเดอร์, บอนโซ หัวหน้าทีมรุ่นผู้โหดร้าย เป็นต้น ทุกคนล้วนเก่งกาจแต่มีวิถีผู้นำแตกต่างกันไป โดยทักษะที่ทำให้เอนเดอร์เป็นผู้นำที่โดดเด่นกว่าคนอื่นๆ และได้รับยอมรับจากสมาชิกทีมมีดังนี้





10 ทักษะความเป็นผู้นำ ฉบับเอนเดอร์ วิกกิ้น

1. การคิดเชิงกลยุทธ์ (strategic thinking): การวางกลยุทธ์เป็นความสามารถพิเศษของเอนเดอร์มาตั้งแต่เด็ก เขาสามารถเอาชนะทุกคนได้ในเกมกลยุทธ์โดยการทำความเข้าใจคู่แข่งจนรู้ว่าอีกฝ่ายคิดอะไรและควรจะเดินหมากอย่างไร

นอกจากวางกลยุทธ์ในเกมเก่งแล้ว เอนเดอร์ยังนำวิธีวางกลยุทธ์มาใช้ในชีวิตจริง ตอนที่เขากำลังจะถูกกลุ่มรุ่นพี่ทำร้ายร่างกายเพราะโกรธที่แพ้ในเกม เอนเดอร์ก็วางกลยุทธ์ว่าต้องใช้คำพูดอย่างไรและกระทำอย่างไรถึงจะชนะรุ่นพี่ได้ ไม่เพียงแค่เอาชนะตอนนั้น แต่ต้องทำให้กลุ่มรุ่นพี่ไม่มาหาเรื่องเขาอีกในอนาคตด้วย

ในฐานะผู้นำ การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นทักษะที่สำคัญในการวางแผนเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายและคิดครอบคลุมถึงผลลัพธ์ในอนาคตด้วย

2. การปรับตัว (adaptability): เอนเดอร์เผชิญกับสถานการณ์ท้าทายอยู่เสมอ ซึ่งเขาสามารถปรับตัวเข้ากับผู้คนและสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น ตอนที่เขาเพิ่งเข้าโรงเรียนฝึกการต่อสู้แล้วถูกเพื่อนร่วมรุ่นตีตัวออกห่างเพราะเขาฉลาดเกินไป, ตอนที่เขาถูกย้ายไปอยู่ทีมซาลาแมนเดอร์ของบอนโซ หัวหน้าทีมรุ่นพี่ที่กลั้นแกล้งเขา, ตอนที่เขาถูกย้ายมาเป็นหัวหน้าทีมดราก้อนที่ไม่เคยชนะการแข่งขันเลย เป็นต้น

‘การเปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่แน่นอน’ เอนเดอร์ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ดี ทำให้เขายอมรับเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่เคยโอดครวญต่อสถานการณ์ท้าท้าย แต่เลือกที่จะสนุกไปกับมันและพุ่งตรงไปยังเป้าหมาย

3. ความกล้าหาญและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (courage and empathy): ความฉลาดทำให้เอนเดอร์ถูกวางตัวเป็นผู้นำ แต่ความกล้าหาญและเห็นอกเห็นใจคือทักษะที่ทำให้สมาชิกทีมยอมรับว่าเขาเป็นผู้นำที่แท้จริง 

เอนเดอร์กล้าที่จะตั้งคำถามและถกเถียงอย่างใช้เหตุผลกับผู้บังคับบัญชาแม้รู้ว่าจะถูกลงโทษ นั่นเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เพื่อนร่วมรุ่นที่เคยตีตัวออกห่างหันมาเคารพเขา

นอกจากนี้เอนเดอร์ยังถ่อมตัว เขาแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนร่วมทีมแม้แต่กับคนที่ไม่ชอบเขา เขาใช้เวลาทำความเข้าใจมุมมองและแรงจูงใจของอีกฝ่าย ซึ่งช่วยให้เขาสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับคนอื่นได้ ในฐานะผู้นำ สิ่งสำคัญคือต้องสามารถเข้าใจและเห็นอกเห็นใจสมาชิกในทีมเพื่อสร้างความไว้วางใจและสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานในเชิงบวก

4. การบริหารสมาชิก (people management): เอนเดอร์รู้ถึงความสำคัญของทีมเวิร์คเป็นอย่างดี เขารู้ว่าเพื่อนร่วมทีมแต่ละคนเป็นอย่างไร ถนัดด้านไหน และมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อเป้าหมาย ซึ่งเอนเดอร์ช่วยทำให้ทุกคนแสดงศักยภาพออกมาได้เต็มประสิทธิภาพ ในฐานะผู้นำ เป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องรู้จักสมาชิกทีมอย่างดีเพื่อมอบหมายงานที่เหมาะสมให้กับแต่ละคน รวมถึงจูงใจให้พวกเขารู้สึกถึงคุณค่าของตัวเองต่อทีม

5. การสื่อสาร (communication): เอนเดอร์สามารถสื่อสารแผนการและสรุปสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว ทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายและรู้ว่าควรจะทำอะไรต่อไป เขารู้ว่าควรจะสื่อสารกับแต่ละคนแบบใดจึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น สื่อสารแบบเล่าให้ฟัง, ชวนให้คิด, ขอคำแนะนำ, ออกคำสั่ง, ลงมือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เป็นต้น

แตกต่างจากบอนโซ หัวหน้าทีมซาลาแมนเดอร์ที่สื่อสารแบบออกคำสั่งอย่างเดียว ห้ามลูกทีมโต้เถียง นั่นนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในเกมการแข่งขันเพราะเขาไม่รับฟังคำแนะนำกลยุทธ์ของเพื่อนร่วมทีมเลย แถมยังไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชาคนไหนที่เต็มใจทำตามเขา 

การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับทุกคน โดยเฉพาะหัวหน้าทีมที่ต้องคอยสื่อสารให้สมาชิกทีมเข้าใจตรงกัน เชื่อใจกันและทำงานไปสู่เป้าหมายเดียวกัน





6. การตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว (decisiveness): เอนเดอร์สามารถตัดสินใจเรื่องยากๆ ภายใต้สถานการณ์กดดันและมีข้อมูลจำกัดได้อย่างรวดเร็วและมั่นใจ การตัดสินใจเป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้นำ หากผู้นำยังลังเลหรือขาดความมั่นใจการตัดสินใจของตัวเอง สมาชิกทีมก็จะรู้สึกสงสัยในตัวหัวหน้าทีมเช่นกัน

7. การสะท้อนตัวตน (self-reflection): เอนเดอร์ไตร่ตรองการกระทำและการตัดสินใจของเขาอยู่เสมอ เขาไม่กลัวที่จะยอมรับเมื่อเขาทำผิดพลาด การสะท้อนตนเองทำให้เขาได้เรียนรู้จากประสบการณ์และกลายเป็นผู้นำที่ดีขึ้น ผู้นำที่ดีต้องสามารถสะท้อนการกระทำและการตัดสินใจของตัวเองเพื่อเรียนรู้จากสิ่งเหล่านั้นและตัดสินใจเลือกได้ดีขึ้นในอนาคต

8. ความรับผิดชอบ (accountability): เอนเดอร์รับผิดชอบต่อการกระทำและการตัดสินใจของเขา แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นก็ตาม เขาไม่ตำหนิผู้อื่นหรือหาข้อแก้ตัว แต่เลือกที่จะพยายามหาทางออกและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ในฐานะผู้นำ สิ่งสำคัญคือต้องรับผิดชอบต่อการกระทำและการตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ของการเลือกของคุณ 

9. ความยืดหยุ่น (resilience): เอนเดอร์เผชิญกับความพ่ายแพ้และความท้าทายครั้งสำคัญตลอดทั้งเรื่อง แต่เขาไม่เคยยอมแพ้ เขาสามารถฟื้นตัวจากความล้มเหลวและเดินหน้าต่อไปสู่เป้าหมายได้ ความยืดหยุ่นเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับผู้นำ เนื่องจากพวกเขาจะต้องเผชิญกับอุปสรรคและความพ่ายแพ้ในการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

10. การคิดอย่างมีวิสัยทัศน์ (visionary thinking): เอนเดอร์มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนสำหรับเส้นทางในอนาคตและสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมของเขาทำงานตามวิสัยทัศน์นั้นได้ เขาสามารถมองเห็นภาพรวมที่ใหญ่ขึ้นและเข้าใจว่าบทบาทของสมาชิกในทีมแต่ละคนเหมาะสมกับเป้าหมายที่ใหญ่กว่าอย่างไร ในฐานะผู้นำ การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างแรงจูงใจและสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมของคุณ

พื้นที่หวีดเอนเดอร์

⚠️ รีวิวต่อไปนี้มีเปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญในภาพยนตร์

Ender's Game (2013) - Ender Wiggin

ผู้พันกราฟฟ์: พวกเราชนะ! นั่นแหละที่สำคัญ
เอนเดอร์: ไม่ใช่ วิธีที่พวกเราชนะต่างหากที่สำคัญ

นี่เป็นหนึ่งในภาพยนตร์หักมุมที่สะเทือนใจที่สุดสำหรับซิส 🥺 ไม่คิดว่าหนังไซไฟอวกาศสนุกๆ ที่ดำเนินเรื่องด้วยเด็กจะดราม่าหักมุมได้ ตอนที่ชมภาพยนตร์ก็คิดอยู่ว่า ‘หนังจะจบอยู่แล้ว แต่เอนเดอร์ยังเรียนไม่จบซะที 😂 จะได้รบกันมั้ยเนี่ย! หรือมีต่อภาค 2?’ พอหนังเฉลยการทดสอบครั้งสุดท้ายเท่านั้นแหละ ปวดใจสุด เมื่อคิดถึงสิ่งที่เอนเดอร์ต้องแบกรับไปตลอดชีวิต ได้แต่คิดว่าถ้าเอนเดอร์รู้ความจริงก่อนการทดสอบ เขาจะตัดสินใจและใช้กลยุทธ์ยังไง

แต่การที่เอนเดอร์ถูกหลอกก็ทำให้ตัวละครนี้ดูมีมิติสมจริงมากขึ้น เพราะต่อให้เอนเดอร์จะเป็นอัจฉริยะ แต่เขาก็ยังเป็นเด็กที่ประสบการณ์ใช้ชีวิตน้อย โดยใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับครอบครัวและที่โรงเรียนเท่านั้น จึงไม่แปลกที่จะตกหลุมพรางการทดสอบครั้งสุดท้าย แต่ถึงอย่างไรก็โหดร้ายเหลือเกินที่ต้องให้เด็กคนหนึ่งมาแบกรับภาระอันหนักอึ้งโดยไม่ได้รู้เบื้องหลัง

ขอชื่นชมเอซา บัตเตอร์ฟิลด์ (Asa Butterfield) ผู้รับบทเอนเดอร์ ชอบน้องตั้งแต่แสดงเรื่อง Hugo (2011) แล้ว สำหรับเรื่องนี้น้องถ่ายทอดตัวตนของเอนเดอร์ที่มีบุคลิกซับซ้อนได้เก่งมาก แสดงความเป็นผู้นำอัจฉริยะที่กล้าหาญ ในขณะเดียวกันก็มีความถ่อมตัว ขี้อายและไร้เดียงสาในบางมุมเพราะประสบการณ์ที่ยังน้อย มันทำให้เราชื่นชมและยกย่องผู้นำแบบเอนเดอร์จริงๆ





Edit Template

𐙚˙⋆ sis academy .˚ ᡣ𐭩

lifelong learning hub & creative studio

2024 © sis-academy.com | by Ponglada Niyompong

𐙚˙⋆ sis academy .˚ ᡣ𐭩

lifelong learning hub & creative studio

©2020 – 2024 SIS ACADEMY | by Ponglada Niyompong

Edit Template